CLOSE

เผย 4 เงื่อนไข ผู้ประกอบการที่จะได้รับการส่งเสริมลงทุนผลิตแบตเตอรี่ EV จาก BOI

เป็นไปตามคาดหลังบอร์ด BOI ลงมติเห็นชอบออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนแบตเตอรี่สำหรับรถ EV หลังจากออก Road Show พบผู้บริหารบริษัทผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำจากประเทศจีน ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อดึงยักษ์ใหญ่จากประเทศจีนเข้ามาร่วมลงทุน สวนอุตสาหกรรม และ นิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้ไทยเป็นฐานการผลิตแบตเตอรี่รถ EV ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ใช้ทั้งเงินทุน ความรู้ในเทคโนโลยีขั้นสูง โดยมาตรการดังกล่าวมีเงื่อนไขด้วยกันดังนี้

1. ต้องเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำที่มีการใช้งานโดยผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
หมายความว่าบริษัทที่ผลิตแบตเตอรี่รถ EV ออกมาจะต้องมีการนำแบตเตอรี่ที่ผลิตได้ถูกนำไปใช้โดยผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีด้วยกันหลายราย
  • ผู้ผลิตจากประเทศจีน ได้แก่ BYD, EVE, CATL, CALB, SVOLT, Gotion,Sunwoda
  • ผู้ผลิตจากประเทศเกาหลี ได้แก่ LG และ SK
  • ผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ PANASONIC
ซึ่งคาดว่าจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่คาดว่าจะเข้ามาลงทุนและตั้งฐานการผลิตแบตเตอรี่ที่ นิคมอุตสาหกรรม ประเทศไทย 

2. มีแผนการผลิตเซลล์แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า โดยสามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ด้วยได้
3. ต้องผลิตเซลล์แบตเตอรี่ที่มีค่าพลังงานจำเพาะ ไม่น้อยกว่า 150 Wh/Kg
4. ต้องมีจำนวนรอบการอัดประจุ (Life Cycle) ไม่น้อยกว่า 1,000 รอบ

สิ่งที่จะได้รับการส่งเสริมจาก BOI
สำหรับนักลงทุนที่มีข้อกำหนดครบตามเงื่อนไขทั้ง 4 ข้อและต้องการที่จะเข้ามาลงทุน นิคมอุตสาหกรรม และขอการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI สิ่งที่จะได้รับประกอบไปด้วย 3 ส่วนด้วยกัน

1. กิจการผลิตแบตเตอรี่ กรณีมีขั้นตอนการผลิต Cell (กลุ่มกิจการ A1)
  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ไม่จำกัดวงเงิน
  • ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร ของนำเข้าเพื่อวิจัยและพัฒนา อากรวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก
  • สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่มิใช่ภาษี
  • ลดหย่อนอากรนำเข้าร้อยละ 90 สำหรับวัตถุดิบที่หาไม่ได้ในประเทศ (ม.30) เป็นเวลา 2 ปี
2. กิจการผลิตแบตเตอรี่ กรณีมีขั้นตอนการผลิต Module (กลุ่มกิจการ A2)
  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี
  • ลดหย่อนอากรนำเข้าร้อยละ 90 สำหรับวัตถุดิบที่หาไม่ได้ในประเทศ (ม.30) เป็นเวลา 2 ปี
3. กิจการผลิตแบตเตอรี่ กรณีมีขั้นตอนการ Pack Assembly เท่านั้น (กลุ่มกิจการ A3)
  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี
นอกจากนี้ยังจะได้รับเงินอุดหนุนการผลิตและการใช้แบตเตอรี่สำหรับ Giga Factory ในประเทศ(Demand-linked) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทย เทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน (20 USD/kWh หรือ 600 บาท/kWh) และเงินสนับสนุนการลงทุนเป็นรายกรณี (CAPEX Subsidy)

ยังมีในส่วนของการรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยจะได้รับการยกเว้น
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลาสูงสุดไม่เกิน 15 ปี 
  • ยกเว้นภาษีจากเงินปันผล 
  • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร 
  • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก ลดหย่อนอากรขาเข้าไม่เกินร้อยละ 90 ของอัตราปกติสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ 
  • ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา
สวนอุตสาหกรรม 304 หนึ่งในผู้พัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ที่ได้รับการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) เพราะเป็นพื้นที่คลัสเตอร์อุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น มีพื้นที่รองรับนักลงทุนพร้อมสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างไม่จำกัด เพื่อการผลิตที่ดีและมีคุณภาพ

ที่มาของข้อมูล
  • https://www.prachachat.net/economy/news-1506935
  • https://www.boi.go.th/index.phppage=press_releases_detail&topic_id=135055&_module=news&from_page=press_releases2
  • https://www.thansettakij.com/business/economy/595260
  • https://www.salika.co/2024/04/07/competition-of-ev-battery-industry/